วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ของ ปตท.


" โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากจังหวัดระยองไปยังอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เป็นระยะประมาณ 300 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2554 "

PTT-Natural Gas Transmission System (THAILAND)

โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission Pipeline)

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 14 โครงการ ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 165,077 ล้านบาท แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของ ปตท.(รวมท่อส่งก๊าซฯจากแหล่งน้ำพอง) จาก 3,680 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) ณ สิ้นปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 6,980 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) โดยแบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ และการเพิ่มการลงทุนในระบบท่อเชื่อมในทะเลดังนี้

โครงการในระยะที่ 1

  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันที่ Block Valve West 7 (BVW#7) จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับและส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากสหภาพเมียนมาร์สูงสุด 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการฯแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2549
  • โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระนครใต้ หรือเดิมเรียกว่าโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเป็นการรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือและพระนครใต้ รวมทั้งการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่ง เพื่อช่วยลดมลภาวะในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปตท. มีโครงการที่จะวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว เป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร โดยจะเชื่อมจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี-วังน้อย ที่อำเภอไทรน้อย ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ และท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร จากบางใหญ่ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 480 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากไทรน้อยไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 และส่วนที่ต่อไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือจะแล้วเสร็จพร้อมกับโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพระนครเหนือของ กฟผ.
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันสำรองที่เขตปฏิบัติการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จังหวัดราชบุรี เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความยืดหยุ่นในการส่งก๊าซธรรมชาติจากสหภาพเมียนมาร์ไปยังผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในส่วนกลาง ซึ่งโครงการแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินงานเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2549
  • โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเลและบนบก
  • โครงการก่อสร้างแท่นพักท่อพีอาร์พี (PTT Riser Platform – PRP) โครงการแล้วเสร็จต้นปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแท่นพักท่อพีอาร์พี ต่อไปยังจังหวัดระยอง เป็นระยะทาง 418 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายหลังติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันในทะเล ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้เมื่อต้นปี 2550
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแหล่งอาทิตย์ไปยังแท่นพักท่อพีอาร์พี เป็นระยะทาง 200 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว จากระยองเพื่อเชื่อมกับระบบท่อคู่ขนานบนบกที่สถานีเพิ่มความดันบางปะกง เป็นระยะทางรวม 110 กิโลเมตร ความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายหลังติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันบนบก ซึ่งโครงการแล้วเสร็จและเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549

โครงการระยะที่ 2

  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแหล่งเจดีเอไปยังแหล่งอาทิตย์ เป็นระยะทาง 95 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการแล้วเสร็จต้นปี 2551
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ทั้งในทะเลและบนบก เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด ซึ่งหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 บนบกได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการเมื่อต้นปี 2550 สำหรับหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2552
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว จากอำเภอวังน้อยไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นระยะประมาณ 80 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 510 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งโครงการได้เริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้เมื่อสิ้นปี 2549
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันระหว่างทาง เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติจากวังน้อยของท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก ในการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยไปยังราชบุรีและโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-พระนครใต้/พระนครเหนือ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2553
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากจังหวัดระยองไปยังอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เป็นระยะประมาณ 300 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2554

โครงการในระยะที่ 3

  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันบนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2555

การเพิ่มการลงทุนในระบบท่อเชื่อมในทะเล

  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 18 นิ้ว จากแหล่งผลิตอาทิตย์เหนือส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตเชฟรอนส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 45 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2553
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตบงกชใต้ส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 50 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2554
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตไพลินส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2555

.....

PTTทุ่ม3.5หมื่นล. เร่งลงทุนท่อเส้น4ปตท.รื้อแผนลงทุนท่อส่งก๊าซเส้น 4 มูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท เร่งประมูลซื้อท่อต้นปีหน้าอานิสงส์ราคาวัสถุลดฮวบ "จิตรพงษ์"ยังอุบเสร็จก่อนแผนเดิมปี2555 ขอดูผลการศึกษาดีมานด์จากโรงไฟฟ้าตามแนวท่อก่อนนายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. กำลังทบทวนแผนการลงทุนก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้น 4 บนบก ระยะทาง 300 กิโลเมตร จากจ.ระยอง-สระบุรี มูลค่าการลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ปตท. อยู่ระหว่างการเปิดประมูลซื้อท่อก๊าซเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 42 นิ้ว จำนวน 2 แสนตัน โดยจะคัดเลือกเหลือประมาณ 1-2 ราย คาดว่าแผนการซื้อท่อจะแล้วเสร็จภายในปี 53 อย่างไรก็ดียังไม่สามารถตอบได้ว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จก่อนแผนเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 55 หรือไม่อย่างไรก็ดีสาเหตุปตท.เร่งประมูลซื้อท่อก๊าซในช่วงนี้ เนื่องจากราคาวัสดุถูกลงมากเมื่อเทียบช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยสามารถสต๊อกสินค้าไว้เพื่อรองรับโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกัน ปตท. ต้องดูผลการศึกษาความต้องการใช้ก๊าซจากโรงไฟฟ้าตามแนวท่อก๊าซก่อน นอกจากนี้จะประเมินสถานการณ์ความต้องการใช้ก๊าซในประเทศใหม่ก่อนปรับแผนลงทุนของธุรกิจให้สอดคล้องกัน"เราจะซื้อท่อมาเก็บเอาไว้ก่อนเพื่อใช้ในโครงการท่อเส้นที่ 4 เนื่องจากราคาวัตถุดิบขณะนี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ทำให้ ปตท.ประหยัดเงิน โดยโครงการท่อเส้นที่ 4 แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะเป็นการสร้างท่อก๊าซจากคลังก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ในจ.ระยองมายังโรงแยกก๊าซมีระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ส่วนระยะที่สองจะทำท่อจากโรงแยกก๊าซมาใกล้บริเวณ จ.ปราจีนบุรี และระยะสามจะทำท่อจากปราจีนบุรี ไปยัง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี"นายจิตรพงษ์ กล่าวสำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม M9 ในพม่านั้น คาดว่า ปตท. จะเซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งดังกล่าว กับผู้ผลิตได้ภายในปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายของไทยและพม่า คาดว่าจะนำก๊าซขึ้นมาใช้ได้ประมาณกลางปี 56นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวว่า โรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 กำลังการผลิต 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยจะผลิตแอลพีจีประมาณ 1 ล้านตันต่อปี และอีเทน 1 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้กำลังการผลิตส่วนใหญ่จะป้อนโรงงานปิโตรเคมี โดยเฉพาะบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH และบางส่วนจะนำมาใช้ในประเทศ สำหรับแนวโน้มการลงทุนโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 นั้น คงต้องศึกษาความต้องการแอลพีจีของกลุ่มปิโตรเคมีก่อน หากพบว่าความต้องการสูงก็จะให้กลุ่มปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตจท. เป็นผู้ลงทุน เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่นำมาป้อนโรงงานปิโตรเคมี และส่วนหนึ่งนำมาใช้ในประเทศอย่างไรก็ตาม โรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 จากแผนเดิมที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 54 และจะแล้วเสร็จในปี 58-59 แต่ขณะนี้การก่อสร้างล่าช้าออกไปไม่มีกำหนดเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ก๊าซชะลอตัวมากคงต้องรอกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆทั้งโรงไฟฟ้าหรือปิโตรเคมีมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาเหตุขัดข้องในการส่งก๊าซให้กับโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในช่วงที่ผ่านมานั้น ทาง ปตท.จะได้หารือกับทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์) เพื่อเตรียมแนวทางรองรับสถานการณ์ และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะผลสูญเสียด้านปริมาณก๊าซไม่มากนัก แต่ประชาชนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีได้รับผลกระทบ ดังนั้นควรจะมีการกำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟของ กฟผ. เนื่องจากปัจจุบันปริมาณก๊าซมีเพียงพอต่อการใช้ และหากไม่เพียงพอ บริษัทก็มีปริมาณน้ำมันเตาและดีเซลสำรองไว้เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น