วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นำ Google Earth มาช่วยงานวางแนวท่อ


รูปแนวท่อก๊าซ เส้นที่ 4 ของ ปตท.จาก Presentation ของ บริษัท TRC

การนำ Google Earth มาใช้ช่วยงานวางท่อ

การจัดทำแผนที่ แนวท่อ ระยะต่างๆ จุดที่จะทำ HDD ซึ่งสามารถกำหนด-วัดระยะต่างๆ ได้ การย่อยแนวท่อ เพื่อการวางแผนงาน หรือ ประกอบการนำเสนอต่างๆ ซึงจุดที่ปักธงไว้ สามารถ ระบุ รายละเอียดได้อีกด้วย รวมทั้ง การแสดงได้ในหลายรูปแบบ เป็นแผนที่ และเป็นภาพถ่ายทางอากาศ สรุปคือ จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการนำมาช่วยงาน (แต่การสำรวจ พื้นที่จริง ก้อมีความจำเป็นมาก เนื่องจาก ภาพใน Google Earth เป็นแผนที่เก่า โดนเฉพาะรูปถายทางอากาศ)


มารู้จักกับ ไฟล์นามสกุล *.kmz
ไฟล์ .kmz เป็นไฟล์ที่สร้างขึ้นจากโปรแกรม Google Earth โดยไฟล์ที่อยู่ใน .kmz จะประกอบด้วยไฟล์ .kml และรูปภาพต่างๆที่มีการปักหมุดใน Google Earth การใช้งานสามารถเซฟไว้ที่ไหนก็ได้ เหมือนเป็นไฟล์ .xls ของ Excel หรือ .doc ของ Word
ถ้ามีการติดตั้งโปรแกรม Google Earth ในเครื่องอยู่แล้ว เวลาดับเบิลคลิกที่ไฟล์ .kmz ก็จะไปเรียกโปรแกรมเองโดยอัตโนมัติ
ไฟล์ .kml คือ ไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวค่าพิกัด, ความสูง, ข้อมูล ของหมุดที่มีการปักหมุดใน Google Earth

Download Portable Google Earth <- กดเพื่อดาวน์โหลด
ตัวอยางไฟล์ kmz จำวนวนมาก <- กดเพื่อดาวน์โหลด

เช่น
  • โรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก
  • Crop Circle Collection
  • แนวท่อน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก
  • แผนที่การทหาร
  • และอื่นๆ
ไฟล์ kmz ถนน และสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ กดที่เวบลิงค์ด้านล่างเพื่อโหลดไฟล์ kmz

ดาวน์โหลด kml/kmz
กรุงเทพ
เขตการปกครอง
เส้นทางด่วน
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เขตพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจนครบาล
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่งขนส่ง
เส้นทางรถไฟฟ้า
ภาคกลาง
เขตการปกครอง
เส้นทางด่วน
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เขตพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจนครบาล
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง
ภาคตะวันออก
เขตการปกครอง
เส้นทางด่วน
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เขตการปกครอง
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง
ภาคเหนือ
เขตการปกครอง
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง
ภาคใต้
เขตการปกครอง
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง
ภาคตะวันตก
เขตการปกครอง
ตำแหน่งจุดตัดถนน
สถานที่สำคัญ
เส้นทางรถไฟ
แม่น้ำ
เส้นทางคมนาคม
สถานีขนส่ง



รูปแนวท่อน้ำมันและก๊าซ ในอ่าวเม็กซิโก

รุปโรงกลั่นที่มีอยู่ทั่วโลก

แผนที่ทางด่วยสายภาคตะวันออก
แผนที่ทางด่วยสายภาคตะวันออก
แผนที่ทางด่วยสายภาคตะวันออก


การใช้ Google Earth ดูแผนที่เมม ข้อมูลฟ้าผ่า ทั่วโลก......

Google Earth

Google Earth
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับในการดูแผนที่ หรือตรวจสอบข้อมูลค้นหว้าข้อมูลต่างๆโดยอาศัยจากการเปรียบเทียบโลกของเรา เพียงแค่เราอยากรู้ว่าที่นั้นมีอะไรเพียงแค่เลื่อนเมาท์ และคลิกก็จะมีข้อมูล ทั้งนี้ หากเราใช้ Google Earth
แบบ Professional จะสามารถทำให้ดูภาพเป็นสามมิติได้ครับ (สังเขปของโปรแกรม)

ทำไมต้อง Google Earth


อิอิ ไม่ได้ขายของน่ะครับ แต่เอามาให้ใช้ฟรี

มันสามรถดูพายุได้น่ะสิ่ ไม่ใช่แค่พายุน่ะครับ แต่มันสามารถดูได้ทุกอย่างเลย ไม่ว่า จะเป็นข้อมูลสถิตติของการเกิดฟ้าผ่าทั่วโลก การสังเกตุการเคลื่อนไหวของกลุ่มเมมทั่วโลกที่เกิดขึ้น โดยจะอัพเดททุกๆ 3 ชั่วโมง และนอกจากนี้เรายังใช้โปรแกรมเพื่อนการเรียนรู้และเปิดโลกกว้างได้

ความเห็นที่ 1 โดยคุณ ภาสกร (58.8.90.244) [30-08-2007 16:40] #14794

คือมันกว่าของ Digital - Typhoon น่ะครับ แต่การดูพายุที่ละเอียดนั้น ยังต้องขึ้นกับหน่วยงานของประเทศญีปุ่นครับ แต่อันนี้ที่ผมไปเจอนั้นมันดีตรงที่มีรายละเอียดสำหรับคนที่ชอบเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาจิงๆ สำหรับคนทั่วไปด้วย มีข้อมูลต่างๆๆ เช่น อุณหภูมิ ประจำวัน เป็น แถบสี และอื่นๆ ครับ

นี่คือลิงค์น่ะครับ
http://www.gearthblog.com/kmfiles/gebweather.kmz

อันี้เป็นอันใหม่

ส่วนวิธีการลงนั้นไม่ยากให้ดูจาก วิธีขั้นตอนที่ผมแนบภาพมาให้น่ะครับ อาจจะเปลี่ยนที่ชื่อไฟล์นิดเดียว จาก Active.en เป็น gebweather.kmz ครับ ส่วนในเรื่องรายละเอียดไม่ยากเท่าที่ควร

อันล่างนี้จะเป็นของเก่าน่ะครับ สำหรับคนที่ชอบดูเฉพาะแปซิฟิก
แต่อันบนสำหรับคนอยากรู้เห็นไปทั่วโลก อิอิ


ลิงค์ดาวน์โหลด Google Earth http://dl.google.com/earth/client/branded/redirect/Google_Earth_BZXV.exe

ลิงค์ดาวน์โหลดดูพายุผ่าน Google Earth อับเดททุกๆ 1 ช.ม แต่ข้อมูลพายุ ทุกๆ 3 ช.ม http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/kml/active.ja.kml

สำหรับคนที่จะดูพายุ ที่เคยเกิดขึ้นแล้วมีสามารถย้อนดูได้ น่ะครับ



วิธีทำก็ดูเอาจากภาพน่ะครับ มีขั้นตอนละเอียด ยิบ เลยครับ ลองใช้ดูครับ บางมีพายุเกิด แต่ภาพดาวเทียม ของไทยดูไม่ถึง เหมาะสำหรับคนชอบติดตามการเกิดพายุ บ้าคลั่ง อิอิ
และติดตามตลอดเวลา และสำหรับคนที่จะคำนวนว่าเส้นทางพายุ***งเท่าไรก็ดูได้ ครับ

โดยคุณ ภาสกร [25-04-2008 11:09]

http://www2.tmd.go.th/webboard/show.php?Category=meteorology&No=3810&PHPSESSID=4f04fd4441e4da9f11ed5099fa8367d2


ติดตามเรื่องพื้นที่ปริศนา บนโลกโดย Google Earth จาก VDOs




วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย)

โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย) ใช้ท่อขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว ความดันในการออกแบบสูงสุด (Design Pressure) 1,250 psig ความดันต่ำสุด (Minimum Pressure) ประมาณ 450-600 psig อุณหภูมิที่ ออกแบบ (Underground) 30-120°F โดยพาดผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด รวมระยะทางประมาณ 290 กิโลเมตร ดังนี้




จังหวัดระยอง จุดเริ่มต้นจาก เทศบาลเมืองมาบตาพุด จ. ระยอง โดยใช้พื้นที่ ทางเดินสายไฟฟ้า 500 KV (โรงไฟฟ้า BLCP – ปลวกแดง) และตัดเข้าทางเดินสายไฟฟ้า 230 KV (ปลวกแดง – หนองจอก - วังน้อย แนวที่ 2) มุ่งหน้าสู่จังหวัดชลบุรี ไปสิ้นสุด ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง ระยะทางประมาณ 57.6 กิโลเมตร

จังหวัดชลบุรี เริ่มจาก ต.เขาคันทรง อ.ศรีราชา โดยใช้พื้นที่เขตระบบสายส่งไฟฟ้า 230 KV ตัดเข้าถนน ชบ. 3007 (แยกทางหลวง 344 - บ้านท่าจาม) จนถึงถนน 344 (บ้านบึง – แกลง) วิ่งตรงเข้าสู่พื้นที่เขตทางหลวงหมายเลข 331 (พนมสารคาม - สัตหีบ) บริเวณ ต.หนองไผ่แก้ว อ.บ้านบึง มุ่งหน้าหน้าเข้า จ.ฉะเชิงเทรา ไปสิ้นสุด บริเวณรอยต่อ เทศบาลตำบลวังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทาง ประมาณ 63.6 กิโลเมตร

จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มจากบริเวณ เทศบาล ต.วังเย็น อ.แปลงยาว โดยใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 331 (พนมสารคาม-สัตหีบ) ผ่าน อ.พนมสารคาม ต่อด้วยเขตระบบของทางหลวงหมายเลข 304 ตัดเข้าสู่สายส่งไฟฟ้า 230 KV (บางปะกง – ปราจีนบุรี) มุ่งหน้าสู่ จ.ปราจีนบุรี ไปสิ้นสุด ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม ระยะทางประมาณ 37.1 กิโลเมตร

จังหวัดปราจีนบุรี เริ่มจากบริเวณ ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ ผ่าน อ.ศรีมหาโพธิ โดยใช้สายส่ง 115 KV (ปราจีนบุรี - ศรีมหาโพธิ) ผ่าน อ.ประจันตคาม อ.เมือง ปราจีนบุรี มุ่งหน้าเข้าเขต จ. นครนายกที่ อ.ปากพลี ระยะทางประมาณ 83.28 กิโลเมตร

จังหวัดนครนายกและจังหวัดสระบุรี เริ่มจาก อ.ปากพลี โดยใช้พื้นที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (สุวรรณศร) ผ่าน อ.เมืองนครนายก และใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (สุวรรณศร) เข้าสู่ถนนเลี่ยงเมืองนครนายก กลับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 (สุวรรณศร) เข้าถนน นย. 2003 อ.บ้านนา และใช้พื้นที่ทางหลวงจังหวัด 3222 (บ้านนา - แก่งคอย) แล้วไปสิ้นสุดที่จุดเชื่อมต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ วังน้อย - แก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ระยะทางประมาณ 52 กิโลเมตร


รายละเอียดโครงการ

ภาษาอังกฤษ : http://www.pttplc.com/Files/Project/1_E.pdf

ภาษาไทย : http://www.pttplc.com/Files/Project/1_T.pdf

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Gas Pipeline Construction Equipment in TRENCH


เครื่องจักรในการก่อสร้าง GAS PIPE LINE มีหลายๆ ส่วน ที่นำเสนออาจจะมีเพียงบางส่วน และบางยี่ห้อเท่านั้น ในส่วนของงาน วางท่อใน TRENCH


Pipe layer is the special equipment for laying for pipeline. It mainly applies lay the pipes, connect the pipes and hoist the pipes for the petroleum and gas project. It also can apply the water pipeline and convey coal pipe.


PBM series pipe bending machine PBM Series Vertical Hydraulic Cold Bending Machine applies in the cold bending machine constructive site in the long pipeline construction with the large diameter.


PMF series pipe facing machine
It is the matching equipment of the all location automatic welding machine which mainly applying the convey petroleum and gas pipeline laying project in petroleum system.

MPS Series All- Hydraulic Mobile Power Station This series applies the Cummins Engine and Stamford (Wuxi) Generator. It is less oil consumption, low noise, reliable performance and stable generating.

WD series external pipe line-up clamp is a new type which is external pipe line-up clamp analyzed the similar international products and developed by ourselves according to the working condition of pipeline constructive site.


Internal pneumatic pipe line–up clamp is an necessary equipment which provides clamp pipes with the high effect and high precision for welding pipe.

Pipe omnidirectional automatic external welding is a special machine for welding the pipe with new omnidirectional and multiple continuous procedures.
การทำงานดูจากวิดีทัศน์ ในรายการด้านล่าง



ราคาโครงการก่อสร้าง GAS PIPELINE

ลองมาดูว่า ราคาโครงการตามส่วนประกอบใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง อย่าลืมว่า วัสดุท่อจัดหาให้โดยเจ้าของ และส่วนอื่นๆที่จัดหาให้มีอะไรบ้าง .-

The capital cost of a pipeline project consists of the following major components:

• Pipeline แนวท่อ ส่วนนี้ที่ราคาจะต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับการเลือกแนวท่อ และการติดขัดของ พื้นที่ ซึงในส่วนนี้ มีทั้งบนดิน บน Pipe Rack ในดิน แบบ Trench และ Trenchless ซึ่งมีทั้ง Jacking และ HDD กรณี HDD มีกี่จุด แต่ละจุดยาวเท่าไหร่ ดังนั้นการเลือกแนวที่ท่อผ่านจะมีผลต่อราคาโครงการมาก
• Compressor stations
• Mainline valve stations
• Meter stations
• Pressure regulator stations
• SCADA and telecommunication
• Health, Environmental, Publics and Permitting ส่วนนี้ ต้องทำให้ชัดเจน แม้ชัดเจนแล้ว อาจยังมีปัญหาได้ เพราะถ้ามีการผ่านชุมชนและการยอมรับของประชาชนที่อยู่ตามแนวท่อด้วย ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องการ Standby ซึ่งอาจมีปัญหาทั้งแรงงานและเครื่องจักร รวมทั้งงานการเตรียมงานต่างๆ อาจจะต้องทำซ้ำ เช่นการขุดซ้ำ ขนซ้ำ หรือปัญหาสนิม รวมทั้งทีมงานส่วนการบริหารโครงการอีกด้วย กรณีในส่วนงานของ ผรม. มักจะไม่ได้รับการชดเชยจากเจ้าของงาน เพราะระบุไว้ชัดเจนในสัญญาอยู่แล้ว ดังนั้น ส่วนนี้ ถ้าก่อนยื่นราคา ควรจะเป็นการถามในที่ประชุมผู้ร่วมประมูลทุกเจ้า เพื่อจะต้องเผื่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ไว้ด้วย
• Right of way acquisitions ตรงนี้ จะมีค่าคืนสภาพและค่าชดเชย หรือ เวรคืน การสำรวจ-สอบถามเบื้องต้น จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการทำราคางาน
• Engineering and construction management การจัดทีมบริหาร ต้องเผื่อค่าใช้จ่ายในการหยุดรองานด้วย

ตัวอย่าง Evaluation Cost นำมาจากหนังสือ Gas Pipeline Hydraulics ดูประกอบเฉยๆ ว่าสัดส่วนเป็นอย่างไร แต่ก้อเอาแน่ไม่ได้ เพราะต่างที่ต่างเวลาต่างเงื่อนไข เพราะฉะนั้น คำนวณมาด้วยพื้นฐานแบบไหน ราคาโครงการ ที่ทำได้คงตามนั้น

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ของ ปตท.


" โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากจังหวัดระยองไปยังอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เป็นระยะประมาณ 300 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2554 "

PTT-Natural Gas Transmission System (THAILAND)

โครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission Pipeline)

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2544-2554 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) เพื่อใช้เป็นกรอบในการลงทุนก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 14 โครงการ ในวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 165,077 ล้านบาท แผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถสูงสุดของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของ ปตท.(รวมท่อส่งก๊าซฯจากแหล่งน้ำพอง) จาก 3,680 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) ณ สิ้นปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 6,980 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ณ ค่าความร้อนจริง) โดยแบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ และการเพิ่มการลงทุนในระบบท่อเชื่อมในทะเลดังนี้

โครงการในระยะที่ 1

  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันที่ Block Valve West 7 (BVW#7) จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับและส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมจากสหภาพเมียนมาร์สูงสุด 1,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการฯแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2549
  • โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-โรงไฟฟ้าพระนครเหนือและพระนครใต้ หรือเดิมเรียกว่าโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเป็นการรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือและพระนครใต้ รวมทั้งการใช้ในภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่ง เพื่อช่วยลดมลภาวะในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปตท. มีโครงการที่จะวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 นิ้ว เป็นระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร โดยจะเชื่อมจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติราชบุรี-วังน้อย ที่อำเภอไทรน้อย ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ และท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร จากบางใหญ่ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 480 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากไทรน้อยไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 และส่วนที่ต่อไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือจะแล้วเสร็จพร้อมกับโครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าพระนครเหนือของ กฟผ.
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันสำรองที่เขตปฏิบัติการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จังหวัดราชบุรี เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและความยืดหยุ่นในการส่งก๊าซธรรมชาติจากสหภาพเมียนมาร์ไปยังผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในส่วนกลาง ซึ่งโครงการแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินงานเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2549
  • โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเลและบนบก
  • โครงการก่อสร้างแท่นพักท่อพีอาร์พี (PTT Riser Platform – PRP) โครงการแล้วเสร็จต้นปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแท่นพักท่อพีอาร์พี ต่อไปยังจังหวัดระยอง เป็นระยะทาง 418 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายหลังติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันในทะเล ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้เมื่อต้นปี 2550
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแหล่งอาทิตย์ไปยังแท่นพักท่อพีอาร์พี เป็นระยะทาง 200 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว จากระยองเพื่อเชื่อมกับระบบท่อคู่ขนานบนบกที่สถานีเพิ่มความดันบางปะกง เป็นระยะทางรวม 110 กิโลเมตร ความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ภายหลังติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันบนบก ซึ่งโครงการแล้วเสร็จและเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2549

โครงการระยะที่ 2

  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากแหล่งเจดีเอไปยังแหล่งอาทิตย์ เป็นระยะทาง 95 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โครงการแล้วเสร็จต้นปี 2551
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ทั้งในทะเลและบนบก เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุด ซึ่งหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 บนบกได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มดำเนินการเมื่อต้นปี 2550 สำหรับหน่วยเพิ่มความดันของท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2552
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว จากอำเภอวังน้อยไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นระยะประมาณ 80 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 510 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งโครงการได้เริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้เมื่อสิ้นปี 2549
  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันระหว่างทาง เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติจากวังน้อยของท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก ในการส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยไปยังราชบุรีและโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทรน้อย-พระนครใต้/พระนครเหนือ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2553
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว จากจังหวัดระยองไปยังอำเภอวังน้อย จังหวัดอยุธยา เป็นระยะประมาณ 300 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 1,400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จเริ่มส่งก๊าซธรรมชาติได้ต้นปี 2554

โครงการในระยะที่ 3

  • โครงการติดตั้งหน่วยเพิ่มความดันบนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก เพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2555

การเพิ่มการลงทุนในระบบท่อเชื่อมในทะเล

  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 18 นิ้ว จากแหล่งผลิตอาทิตย์เหนือส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณกลางปี 2551
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตเชฟรอนส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 45 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2553
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตบงกชใต้ส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 50 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2554
  • โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมในทะเล 24 นิ้ว จากแหล่งผลิตไพลินส่วนเพิ่ม มายังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ในทะเล ระยะทางรวม 40 กิโลเมตร มีความสามารถในการส่งก๊าซธรรมชาติสูงสุดรวม 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2555

.....

PTTทุ่ม3.5หมื่นล. เร่งลงทุนท่อเส้น4ปตท.รื้อแผนลงทุนท่อส่งก๊าซเส้น 4 มูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท เร่งประมูลซื้อท่อต้นปีหน้าอานิสงส์ราคาวัสถุลดฮวบ "จิตรพงษ์"ยังอุบเสร็จก่อนแผนเดิมปี2555 ขอดูผลการศึกษาดีมานด์จากโรงไฟฟ้าตามแนวท่อก่อนนายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. กำลังทบทวนแผนการลงทุนก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้น 4 บนบก ระยะทาง 300 กิโลเมตร จากจ.ระยอง-สระบุรี มูลค่าการลงทุนประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ปตท. อยู่ระหว่างการเปิดประมูลซื้อท่อก๊าซเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 42 นิ้ว จำนวน 2 แสนตัน โดยจะคัดเลือกเหลือประมาณ 1-2 ราย คาดว่าแผนการซื้อท่อจะแล้วเสร็จภายในปี 53 อย่างไรก็ดียังไม่สามารถตอบได้ว่าโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จก่อนแผนเดิมที่คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 55 หรือไม่อย่างไรก็ดีสาเหตุปตท.เร่งประมูลซื้อท่อก๊าซในช่วงนี้ เนื่องจากราคาวัสดุถูกลงมากเมื่อเทียบช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยสามารถสต๊อกสินค้าไว้เพื่อรองรับโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกัน ปตท. ต้องดูผลการศึกษาความต้องการใช้ก๊าซจากโรงไฟฟ้าตามแนวท่อก๊าซก่อน นอกจากนี้จะประเมินสถานการณ์ความต้องการใช้ก๊าซในประเทศใหม่ก่อนปรับแผนลงทุนของธุรกิจให้สอดคล้องกัน"เราจะซื้อท่อมาเก็บเอาไว้ก่อนเพื่อใช้ในโครงการท่อเส้นที่ 4 เนื่องจากราคาวัตถุดิบขณะนี้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ทำให้ ปตท.ประหยัดเงิน โดยโครงการท่อเส้นที่ 4 แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะเป็นการสร้างท่อก๊าซจากคลังก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) ในจ.ระยองมายังโรงแยกก๊าซมีระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ส่วนระยะที่สองจะทำท่อจากโรงแยกก๊าซมาใกล้บริเวณ จ.ปราจีนบุรี และระยะสามจะทำท่อจากปราจีนบุรี ไปยัง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี"นายจิตรพงษ์ กล่าวสำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม M9 ในพม่านั้น คาดว่า ปตท. จะเซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งดังกล่าว กับผู้ผลิตได้ภายในปีนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายของไทยและพม่า คาดว่าจะนำก๊าซขึ้นมาใช้ได้ประมาณกลางปี 56นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวว่า โรงแยกก๊าซแห่งที่ 6 กำลังการผลิต 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยจะผลิตแอลพีจีประมาณ 1 ล้านตันต่อปี และอีเทน 1 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้กำลังการผลิตส่วนใหญ่จะป้อนโรงงานปิโตรเคมี โดยเฉพาะบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTCH และบางส่วนจะนำมาใช้ในประเทศ สำหรับแนวโน้มการลงทุนโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 นั้น คงต้องศึกษาความต้องการแอลพีจีของกลุ่มปิโตรเคมีก่อน หากพบว่าความต้องการสูงก็จะให้กลุ่มปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตจท. เป็นผู้ลงทุน เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่นำมาป้อนโรงงานปิโตรเคมี และส่วนหนึ่งนำมาใช้ในประเทศอย่างไรก็ตาม โรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 จากแผนเดิมที่คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 54 และจะแล้วเสร็จในปี 58-59 แต่ขณะนี้การก่อสร้างล่าช้าออกไปไม่มีกำหนดเนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ก๊าซชะลอตัวมากคงต้องรอกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆทั้งโรงไฟฟ้าหรือปิโตรเคมีมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนปัญหาเหตุขัดข้องในการส่งก๊าซให้กับโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในช่วงที่ผ่านมานั้น ทาง ปตท.จะได้หารือกับทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(เรกูเลเตอร์) เพื่อเตรียมแนวทางรองรับสถานการณ์ และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะผลสูญเสียด้านปริมาณก๊าซไม่มากนัก แต่ประชาชนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีได้รับผลกระทบ ดังนั้นควรจะมีการกำกับดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟของ กฟผ. เนื่องจากปัจจุบันปริมาณก๊าซมีเพียงพอต่อการใช้ และหากไม่เพียงพอ บริษัทก็มีปริมาณน้ำมันเตาและดีเซลสำรองไว้เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รวมเอกสารเกี่ยวข้อง กับ งาน PIPELINE CONSTRUCTION

กดเลือกเพื่อ Download
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ เรื่อง PIPELINE PROJECT บางส่วน - ลับขวานให้คม สัก 2-3 วัน แล้วค่อย ลงมือฟันต้นไม้ใหญ่
http://www.4shared.com/file/145852369/b696f1e3/BuriedSteelPenstockVol4.html
http://www.4shared.com/file/145852715/f76883d3/EIA-Concerned.html
http://www.4shared.com/file/145852916/64ffff63/Equipment_Productivity.html
http://www.4shared.com/file/145866950/213272d5/Gas_pipeline_hydraulics_RECOMMENDED.html
http://www.4shared.com/file/145852960/c2ddcc91/GasPipelineProject-1.html
http://www.4shared.com/file/145867503/74ea492b/Hydraulics_of_pipeline_systems-Larock.html
http://www.4shared.com/file/145853031/7fc054a8/McGraw-Hill_-_Piping_Handbook.html
http://www.4shared.com/file/145867736/2c293a09/Pipeline_External_Corrosion_Protection_System_Design_Report.html
http://www.4shared.com/file/145871125/b0bd502c/Pipeline_Design_for_Water_Engineers.html
http://www.4shared.com/file/145856166/aacfaf4b/PTT-NG-Pipeline.html
http://www.4shared.com/file/145854446/343bc7a9/Soil_engineering_-_testing_design_and_remediation.html
http://www.4shared.com/file/145854595/195e8269/Soil_Mechanics___Foundations.html
http://www.4shared.com/file/145854659/be1b3f17/Stability_of_Slopes.html
http://www.4shared.com/file/145854702/557c78ed/Structural_Mechanics_of_Buried_Pipes.html
http://www.4shared.com/file/145855016/f6f9fc55/WaterNetwork.html
http://www.4shared.com/file/145855349/1977abd8/WeldedSteelPipeSteelPlateEngineeringDatavol3.html
http://www.4shared.com/file/149546337/e565efec/Geology_and_Geochemistry_of_Oil_and_Gas.html

http://www.4shared.com/file/149547074/a2faa26e/Oil_and_gas_production_hand_book_2006.html
http://www.4shared.com/file/149547609/978734a6/Pipeline_Rules_of_Thumb_Handbook.html ***
http://www.4shared.com/file/149556839/33e804ba/Safety__Health_Administration_oil_and_gas_well_drilling_and_servicing.html ***
http://www.4shared.com/file/149539127/15b9c685/Safety_Handbook_of_Fire_and_Explosion_Protection_for_Oil_Gas_Chemical_and_Related_Facilities.html ***

E-Book Library
http://boonchoo.org/srunt/refebooks.html
http://boonchoo.org/srunt/mondaybooks.html

Horizontal Directional Drilling - Trenchless - How It Works

การวางท่อประปา ท่อก๊าซและท่อน้ำมันที่ต้องวางผ่านคลองที่มีขนาดใหญ่ และมีการสัญจรทางน้ำ ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการเปิดหน้าดินเพื่อวางท่อเป็นการใช้เทคโนโลยี Horizontal Directional Drill และวิธี Pipe Jacking ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถทำงานก่อสร้างโดยไม่กีดขวางการจราจรทางน้ำ ทำงานได้รวดเร็วและมีราคาถูกกว่าวิธีการเดิม ทั้งนี้สามารถใช้งานวางท่อใต้ถนนเพื่อลดการเปิดผิวถนนที่มีการสัญจรและลดงานซ่อมแซมผิวจราจร

ภาพแสดงความแตกต่างงาน Trenchless ระหว่าง PIPE JACKING กับ HDD





หรือไฟล์ power point

ดูภาพด้านบนทั้งหมด จินตนาการ กับการลองดู วีดีทัศน์ ที่อธิบายเป็นภาพเคลื่อนไหว

Download